วันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ฉนวนป้องกันความเย็น ป้องกันเสียง ป้องกันความร้อน เย็น เสียง แบบแผ่น

ฉนวนป้องกันความเย็น ป้องกันเสียง ป้องกันความร้อน แบบแผ่น ติดต่อ 
คุณพิเชษฐ ธินนท์ 085-0824713 ราคาประทับจิต คุณภาพเยี่ยมที่สุด รับประกันชิ้นงาน โดยช่างผู้ชำนาญงานมากว่า10ปี รับประกันชิ้นงาน 10 ปี โทรมาคุยกันก่อนได้ครับ ผมรับรองคุณจะประทับใจในผลงานและบริการ คุยกันได้ครับ ขอบคุณมากครับ
ฉนวนกันความร้อน เย็น เสียง พียูโฟม  P..U Foam
สามารถนำมาแปรรูปให้เหมาะกับการใช้งานได้หลายรูปแบบ แต่ยังคงไว้ซึ่งคุณสมบัติคงเดิม เช่น งานอุสาหกรรม งานศิลปกรรม งานวิศวกรรม งานสถาปัตยกรรม งานหัตถกรรม โฟมแผ่น เป็นโฟมรูปแบบโฟมอุตสาหกรรมห้องเย็น ใช้บุผนัง (wall) ฝ้า (Silling) ปูพื้นนอกจากนี้ยังนำมาใช้กับโรงงาน สำนักงาน บ้านที่อยู่อาศัยป้องกันความร้อนที่ถ่ายเทเข้าสู่ตัวอาคาร
เหมาะกับงานทั้งร้อน-เย็น เป็นฉนวนที่มีคุณสมบัติทั้งสองอย่างอยู่ในตัวเดียวกัน"เย็นภายในไม่ให้ออก ร้อนภายนอกไม่ให้เข้า" ขนาดมาตรฐาน กว้าง 1 เมตร ยาว 1 เมตรขึ้นไป มีความหนาทุก ขนาด มีความแข็งแรง รับน้ำหนักได้ดี ประมาณ 2 kg/cm3
โฟมแผ่น
สามารถตัดเป็นแผ่นและความหนา (Foam Slap)หรือัดแบบ (Mold) ได้ ทุกขนาด สามารถนำไปใช้ในงานผนังห้องเย็น ผนังโกดังเก็บสินค้า อาคารชั้นบนที่เป็นคอนกรีตความร้อนจะสะสมทำให้คอนกรีตรับความร้อนตลอดทั้งวันและจะคายความร้อนลงมาตอนกลางคืนทำให้มีความรู้สึกร้อนตลอดคืน กว่าจะเย็นก็เกือบสว่างถึงแม้ว่าจะมีพัดลม ถ้าเปิดแอร์กว่าอากาศจะเย็นลงก็ทำงานหนักหลายชั่วโมงทำให้สูญเสียพลังงาน เปลืองค่าไฟฟ้า การติดตั้งฉนวนป้องกันความร้อนหากจะใช้โฟมแผ่นเพื่อป้องกันความร้อน ป้องกันการรั่วซึมถ้าเป็นบ้าน สำนักงาน ช่างเทปูนก็สามารถทำเองได้ ตามขั้นตอนต่ไปนี้ ปูโฟมแผ่นบนคอนกรีต ซีลรอยต่อด้วยน้ำยาโฟม (เลือกใช้โฟมที่มีความหนาอย่างน้อย 40 kg/ ลบ.ม) แล้วเทคอนกรีตทับอีกชั้นหนึ่ง เทคนิคสามารถสอบถามได้จากบริษัทฯ
ฉนวนกันความร้อน
คือวัสดุที่สามารถกั้นไม่ให้ความร้อนถ่ายเทหรือส่งผ่านจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งหรือด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่งนั่นเอง ยิ่งทำให้ความร้อนผ่านได้ยากเท่าไหร่ก็ยิ่งถือว่าเป็นฉนวนป้องกันความร้อนที่ดีมีประสิทธ์ภาพมากเท่านั้น ซึ่งวัสดุพวกนี้ในท้องตลาดก็มีหลายชนิดหลายประเภท สามารถเลือกใช้ได้ตามความต้องการ และงบประมาณที่มี การติดตั้งฉนวนกันความร้อนนั้นหากมีงบประมาณเพียงพอ ควรติดตั้งทั้งที่ผนังและหลังคารวมทั้งฝ้าเพดาน ของทุกห้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งห้องที่มีการติดตั้งเครื่องปรับอากาศ เพราะจะทำให้เครื่องปรับอากาศทำงานน้อยลงเป็นการประหยัดพลังงานด้วย หากมีงบประมาณปานกลาง ควรติดตั้งฉนวนที่หลังคา แล้วเลือกติดที่ผนังด้านที่ร้อนที่สุด 1-2 ด้าน โดยมากจะเป็นด้านที่โดนแดดมากๆ เช่น ทิศใต้ ทิศตะวันตก แต่ถ้าหากมีงบประมาณน้อย ควรเลือกติดที่หลังคา เพราะหลังคาจะได้รับความร้อนมากที่สุดเกือบตลอดเวลา หากท่านจำเป็นต้องใช้ฉนวนกันความร้อนจริงๆแล้วก็ ควรหางบประมาณสำหรับติดตั้งฉนวนกันความร้อน ที่หลังคาหรือฝ้าเพดานของชั้นบนสุด เพื่อป้องกันไม่ให้ฝ้าเพดานร้อนและแผ่ความร้อนมาหาเรา และอย่าเผลอติดฉนวนในบ้านจนเต็มไปหมดจนไม่ยอมเจาะช่องเปิดประเภทหน้าต่างหรือบานเกล็ดระบายอากาศร้อน เพราะฉนวนจะทำหน้าที่เพิ่มเติมให้กับบ้านเรา คือ กันไม่ให้ความร้อนออกไปจากบ้านด้วย ดังนั้นหากติดตั้งฉนวนในบ้านแล้ว ต้องยอมให้ลมพัดผ่านในบ้านได้ด้วยครับ
ไม่ว่าท่านจะปรับปรุงบ้านเก่าหรือสร้างบ้านใหม่ อย่าเสียดายงบประมาณในการติดตั้งฉนวนกันความร้อน เพราะฉนวนหลายอย่าง ไทยเราทำเองได้ และก็หาซื้อไม่ยาก และราคาไม่แพงเมื่อเทียบกับประโยชน์ที่ได้รับในระยะยาว เราติดตั้งฉนวนกันความร้อนก็เพื่อป้องกันความร้อนไม่ให้เข้ามาในบ้าน ซึ่งเจ้าความร้อนนี้จะเข้ามาสู่ตัวบ้านของเราแทบจะทุกทิศทาง การติดตั้งฉนวนกันความร้อนที่ใต้หลังคาหรือฝ้าเพดานนั้นหากว่าในบ้านของท่านไม่มีฝ้าเพดาน เช่น ห้องแถว ตึกแถวที่มีหลังคาเป็นพื้นดาดฟ้า หรือแม้แต่ทาวเฮ้าส์หรือบ้านเดี่ยวที่หลังคาแบบว่าเงยหน้าขึ้นมองแล้วเห็นโครงหลังคาและแผ่นกระเบื้องเลย การติดตั้งก็พอที่จะทำเองได้ และก็ควรเลือกฉนวนที่เป็นแบบแผ่น เช่น ประเภทแผ่นโฟม ประเภทใยแก้ว หรือแบบเป็นม้วนก็ได้ โดยอาจต้องมีฝ้าเพดานปิดทับอีกทีเพื่อช่วยรับตัวฉนวนและเพื่อความสวยงาม หากว่าชาวคนรักบ้านมีงบประมาณเพียงพอก็ควรหาช่างมาติดตั้งให้ก็จะสะดวกกว่า สำหรับบ้านพักอาศัยที่มีฝ้าเพดานภายในห้อง ซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบ เช่น ฝ้าเพดานแบบ ที-บาร์ (T-BAR)
ลักษณะเป็นตารางสามารถยกเปิดแผ่นฝ้าของแต่ละช่องตารางได้ กรณีนี้ชาวคนรักบ้านสามารถทำเองได้ โดยการยกเปิดแผ่นฝ้า แล้วใช้ฉนวนแบบแผ่น หรือแบบม้วน ปูทับไปบนตาราง แล้วปิดแผ่นฝ้าตามเดิมเป็นอันเรียบร้อย การปูก็พยายามให้ฉนวนชิดติดกันหรือซ้อนทับ เพื่อให้การป้องกันความร้อนได้ผลดียิ่งขึ้นโดยเฉพาะช่วงรอยต่อระหว่างแผ่นฉนวนสำหรับบ้านที่มีฝ้าเพดานแบบแผ่นเรียบไม่เห็นรอยต่อระหว่างแผ่น เป็นแบบที่ปิดตายไม่สามารถยกเปิดได้ มีทั้งใช้แผ่นยิปซั่ม แผ่นไม้อัด การติดตั้งฉนวนกับฝ้าแบบนี้ด้วยตัวเองจะยุ่งยากพอควร ทางที่ดีควรหาช่างมาติดตั้งให้ การเลือกใช้ฉนวนก็สามารถใช้ได้ทั้งแบบแผ่นและแบบม้วน หรือแม้แต่ฉนวนพวกที่ใช้ฉีดพ่นบริเวณใต้กระเบื้องมุงหลังคา (สำหรับฉนวนแบบฉีดพ่นอาจต้องใช้ผู้ชำนาญโดยเฉพาะมาทำให้) ในขั้นตอนการติดตั้งฉนวนที่สำคัญต้องระวังคือ ฉนวนส่วนใหญ่นั้นหากเปียก หรือโดนความชื้นจะมีประสิทธิภาพในการป้องกันความร้อนลดลง แถมอาจสร้างปัญหาให้เราอีก การใช้ก็ควรมีวัสดุห่อหุ้มเพื่อป้องกันความชื้น เช่น แผ่นฟอล์ย มีฉนวนบางประเภทเท่านั้นที่ทนความชื้น แต่อาจมีราคาสูงเช่นพวกโฟม เป็นต้น ท่านสามารถเลือกนำไปใช้ได้ตามความเหมาะสมได้
คุณพิเชษฐ ธินนท์ 085-0824713 ราคาประทับจิต คุณภาพเยี่ยมที่สุด รับประกันชิ้นงาน โดยช่างผู้ชำนาญงานมากว่า10ปี โทรมานะครับ







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น